เมื่อแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่า “ความชรา” เป็น “โรค”

ความชรา “รักษาได้” ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
แม้วิทยาศาสตร์หรือกระทั่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจะอธิบายว่าความชราเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ไม่อาจเลี่ยงได้
ออเบรย์ เดอ เกรย์ (Aubrey De Grey) นักเขียนและนักทฤษฎีด้านชราภาพวิทยาชาวอังกฤษ
กลับเห็นตรงกับกลุ่มแพทย์สมัยใหม่ว่าความชราภาพเป็น “โรค” ที่สามารถรับมือและเยียวยารักษาได้
ยิ่งถ้ารู้ว่าที่มาของโรคนั้นเกิดจากอะไร? ความเจ็บป่วยที่รุมเร้าในวัยชราก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าความชราเกิดจากฮอร์โมนเจริญวัยที่ลดลงไปพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่แท้จริงแล้วความชรายังเป็นผลมาจากเซลล์ และเนื้อเยื่อบางส่วนในร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง
หรือได้รับความเสียหายกระทั่งถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้ ประกอบกับระบบการเผาผลาญพลังงานที่ด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมเซลล์ที่ใช้การไม่ได้แล้วมากเกินไปและนำไปสู่โรคสารพัดชนิดได้ในที่สุด
ในปี 2009 เดอ เกรย์ ได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ SENS Research (Strategies for Engineered Negligible Senescence) ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการวิจัยและคิดค้นแนวทางการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความชราบนพื้นฐานของทฤษฎีชราภาพวิทยา เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และวิศวกรรม โดยเน้นการทดลองและพัฒนาตัวยาใหม่ที่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงอันทำให้เกิดความเจ็บป่วยและโรค
รวมทั้งฟื้นฟูระบบการเผาผลาญพลังงานและอวัยวะต่าง ๆ ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering) ซึ่งคุณสมบัติของยาเหล่านี้จะต้องสามารถกำจัดเซลล์ที่ไม่พึงประสงค์
หรือช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาทำงานอย่างเต็มที่ได้อีกครั้งโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์และโมเลกุลอื่นภายหลัง
SENS จึงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมและขจัดปัญหาที่เกิดจาก 7 ปัจจัยต้นเหตุของความชรา อันได้แก่
- การกลายพันธุ์ของโครโมโซมซึ่งอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง
-
การกลายพันธุ์ของไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์
-
เศษโปรตีนและโมเลกุลสะสมภายในเซลล์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคทางระบบประสาท
-
เศษโปรตีนสะสมภายนอกเซลล์ซึ่งอาจทำให้เกิดซีไนล์ พราก (Senile Plague) และโรคอัลไซเมอร์
-
เซลล์บางชนิดที่หายหรือถูกทำลายโดยที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ อาจทำให้เกิดโรคพาร์กินสันและปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน
-
เซลล์แก่และเสื่อมสภาพ
-
การเชื่อมข้ามสายโมเลกุลแบบสุ่มภายนอกเซลล์ทำให้เนื้อเยื่อขาดความยืดหยุ่นและอาจนำไปสู่สภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
นอกจากนี้ SENS ยังได้จัดสรรทุนให้กับสถาบันและสถานศึกษาทั่วโลกที่สนใจศึกษาเรื่องนี้มาก่อนแล้ว เพื่อผลักดันให้เกิดการวิจัยเชิงลึกอย่างกว้างขวางและรักษาความสมดุลของโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุ
เช่น โครงการสำรวจประชากรเพื่อชีวิตที่มีสุขภาพดีและอายุยืนยาวมากขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ (University of Denver) ร่วมกับองค์กร International Futures (IFs) ซึ่งทำหน้าที่คาดการณ์และวิเคราะห์อนาคตทั้งในเชิงระบบและกลยุทธ์
อย่างไรก็ตามแนวคิดของออเบรย์และ SENS ก็ยังคงเป็นที่โต้เถียงทั้งในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์และสื่อมวลชน
เพราะถึงแม้ว่าการเลี่ยงความชราจะเป็นไปได้ แต่ย่อมไม่มีใครหนีความตายพ้น ครั้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ LiveScience.com ว่า..
เขาไม่ได้ต้องการชีวิตที่เป็นอมตะ เพียงแต่ความเจ็บป่วยและโรคภัยมักเกิดขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลงซึ่งทำให้สภาพจิตใจแย่ลงตามไปด้วย สิ่งที่เขาทำคือ ป้องกันการคุกคามของโรคและความอ่อนแอทางร่างกาย
และใช้ชีวิตในวัยชราอย่างเป็นสุขต่างหาก ทั้งหมดนี้คือ คุณภาพชีวิตที่ทุกคนปรารถนา ถ้าคุณภาพชีวิตดีแล้วอายุยืนยาว ทุกคนล้วนอยากได้ แต่ถ้าอายุยืนยาวแต่ 5, 10 ปีสุดท้ายต้องอยู่ในห้องไอซียู แบบนี้คงไม่มีใครต้องการ
สรุปครับ … อยากรู้ว่าอนาคตเราจะมีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน แนะนำให้ไปตรวจยีน (Genetic Testing) ตามศูนย์เวชสาสตร์ชะลอวัย ครับ
หรืออีกวิธีหนึ่งสร้างศูนย์ชะลอวัยด้วยตัวเราเองง่าย ๆ ด้วยเสริมอาหารระดับยีน เช่น ผลิตภัณฑ์ ageLOC เทคโนโลยี ไม่มีใครดูแลตัวเองได้ดีเท่ากับเราดูแลตัวเราเอง และไม่มีหมอคนไหนดีที่สุดเท่ากับหมอตัวเอง
รู้ยัง…ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วนะครับ
ที่มา: การบรรยายเรื่อง “A roadmap to end aging” โดยออเบรย์ เดอ เกรย์ จาก ted.com